วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

การจัดการชุมชน กับความเป็นไปของชุมชน




สัมผัสประสบการณ์การจัดการชุมชนของกระบี่


หลังจากที่ได้เข้าไปรับรูปปรัชญาของมหาวิทยาลัยชีวิตมาระยะหนึ่ง ทำให้การเดินทางครั้งนี้ของผมในการไปพักผ่อนที่จังหวัดกระบี่ ซึ่งไปสัมผัสชีวิตของชุมชนอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นชาวมุสลิม ในตำบลอ่างพระนาง จังหวัดกระบี่ ชาวบ้าน (จริง ๆ ) ไม่ใช่นายทุน เป็นคนพื้นเพ เท่าที่ได้สัมผัส ยังคงวิถีชีวิตของคนมุสลิมอยู่ แต่ความเจริญก็ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป

แต่ก็โอเคที่ยังได้เห็นว่ามันเป็นสุสานหอยจริง ๆ


หลังจากนั้นช่วงตอนเย็น ๆ มาเดินเล่นที่อ่าวนาง หาดนพรัตน์ รู้สึกว่าด้านของอ่าวนาง ไม่ค่อยให้การต้อนรับคนไทยเราเท่าไร เหมือนไปเมืองนอกยังไงก็ไม่รู้ มีแต่ฝรั่ง (ทำให้นึกถึงพัทยายังไงก็ไม่รู้)

เสร็จแล้วมาทานข้าวที่ ครัวธารา (หลังสึนามิ) ...คนท้องถิ่นบอกว่าร้านนี้อร่อยที่สุด.....


รุ่งขึ้นไปเที่ยวทัวร์สี่เกาะ ไปดูทะเลแหวก .......ไม่ทัน เลยแหวกเองดังคนในรูป

กะว่าจะมาเล่นน้ำตามเกาะที่เขาพาเราไปเที่ยว ไม่ค่อยได้เล่นเลย เพราะคนพาเที่ยวดันเอาเรื่อสปีดโบ้ท เรือหางยาวนำเที่ยวมาจอดซะนี่.......เลยเป็นข้อคอมเมนท์ใหญ่สำหรับนักท่องเที่ยวเลย ว่าที่กระบี่นี้นักท่องเทีี่ยวเล่นน้ำไม่ค่อยได้เพราะดันเอาเรือพานักท่องเที่ยวมาจอดปิดหาดหมด

จากประสบการณ์การเข้าสัมผัสมหาวิทยาลัยชีวิต ทำให้เราได้รู้ว่าการจัดการกับปัญหาที่เป็นแหล่งหากินเช่นชาวกระบี่นี้ ต้องทำกันทั้งระบบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้ประกอบการการท่องเที่ยว ชาวบ้าน ต้องมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหา เพราะนี่เป็นแหล่งรายได้ที่จะเข้าสู่ชุมชน พัฒนาชุมชน ข้อคอมเมนท์อีกประการหนึ่งคือ บริเวณทางเดินอ่าวพระนาง น่าจะมีการกำจัดขยะที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่ปล่อยให้มีการส่งกลิ่นเหม็นระดับนี้.


ผมเสียดายนะ ว่าอีกไม่นาน...กระบี่ไม่น่าจะต่างจากบางแสนมากนักหากไม่มีการแก้ปัญหาเหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น: