วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานใหม่ ที่ไม่ใช่งานใหม่ แต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

มหาวิทยาลัยชีวิต
ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมงานกับทางศูนย์การเรียนรู้ เทศบาลตำบลสุเทพ ในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต..............
ตอนแรกตัวเองที่ได้รับเชิญจากท่านผอ.ศูนย์ฯ ก็งง ๆ เล็กน้อย แต่ก็ได้เดินทางไปร่วมสัมมนาที่โรงแรมแก่นอินน์ จังหวัดขอนแก่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อชีวิตประจำวัน..........ดูแล้วเท่ไหมครับ
ขาเดินทางกลับ แทบเอาชีวิตไม่รอด......รถทัวร์ที่นั่งกลับ คนขับท่าจะมึน...ขับส่่ายไปมา.... ก็ได้ลุกเตือนให้เขาขับดี ๆ เขาท่าจะได้สติ แล้วก็ขับรถปกติขึ้น...............

เข้าเรื่องเลยดีกว่า หลังจากที่ได้เข้ารับการอบรมสัมมนามา ก็มาดูเนื้อหา........แล้วก็มาดูแนวการสอนในส่วนของมหาวิทยาลัยชีวิต พบว่า ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยชีวิต ของท่าน ดร.เสรี พงศ์พิศ ท่านได้กล่าวไว้ในหลายส่วนที่น่าสนใจ แต่ในที่นี้ให้ท่านลองเข้าไปดูใน http://www.rulife.net/html/LIFElearningCenter.htm

ท่านจะได้อ่านสิ่งที่ ดร.เสรี ท่านได้มีแนวทางการดำเนินงาน

ผนวกกับความคิดที่ได้พูดคุยกับอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ท่านหนึ่ง ที่มีแนวคิดอุดมการณ์ทางการศึกษา อีแกนหนึ่งที่น่าสนใจ (ผมขอสงวนการเอ่ยนามท่าน) ผมได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ท่าน ในลักษณะแบบเหตุการณ์พาไป เพราะเราคุยกันเรื่องการศึกษาของลูกผม
ขั้นต้นท่านก็ถามว่าลูกชอบอะไร จะเข้ามหาวิทยาลัยหรือยัง ประมาณนี้ ท่านก็บอกว่า อย่าบังคับเขานะ เพราะสิ่งที่เขาชอบเขาจะทำได้ดี แต่สิ่งที่เราชอบเขาอาจไม่ชอบนะ .......จริงของท่าน ชีวิตเป็นของเขา ไม่ใช่ของเรา (อันนี้ผมคิดเอง) ท่านก็วกมาพูดคุยถึงเรื่องการศึกษาไทย ท่านมีแนวคิดหนึ่งว่าการศึกษาไทย ถูกปลูกฝังมาัจากนักการศึกษาบางกลุ่มที่เป็นตัวตั้งตัวตี ให้การศึกษาไทยมาในแนวทางนี้ ท่านบอกว่ามันค่อนข้างผิด เพราะเห็น ๆ อยู่ว่าบ้านเราผลิตนักเทคนิคในระดับปริญญาตรี มากเกินไป แต่ทำงานไม่ได้ต้องให้บริษัทผู้รับปริญญาตรีเข้าทำงาน ต้องมาฝึกอบรมใหม่

มันน่าหนักใจแทนประเทศไทย....ท่านก็บ่นอย่างนี้ แล้วท่านก็บอกว่าเราทุกคนมีส่วนผิดหมดในระบบการศึกษา แม้แต่ตัวท่านเอง เพราะประเทศเราเรียนแต่วิชาการ ไม่ได้เรียนรู้จากวิถีชีวิตที่เป็นอยู่ เราเรียนแต่การ Appllied ที่ Applied ไม่เป็น

ท่านยกตัวอย่างการจัดการศึกษาของโรงเรียนสาธิต ท่านบอกว่า โรงเรียนสาธิต เป็นโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่ได้เป็นโรงเรียนสาธิตของคณะศึกษาอย่างเดียว การจัดการศึกษา ครู อาจารย์ที่นั่นน่าจะเป็นเพียงผู้ควบคุม นักเรียน บริหารกิจการโรงเรียนก็พอ แต่อาจารย์ผู้สอน ต้องมาจากสาขาที่เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัย เช่น คณิตศาสตร์ต้องมาจากคณิตศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ เคมี ก็มาจากเคมี ศิลปะ ก็ต้องมาจากวิจิตรศิลป์ เกษตร ก็ต้องมาจากคณะเกษตรศาสตร์ สังคมศึกษา ต้องมาจากคณะสังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ไทย จีน ฝรั่งเศส ต้องมาจากคณะมนุษยศาสตร์ เป็นต้น โดยที่อาจารยเหล่านี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอดการประยุกต์วิชาการสู่การเรียนรู้ของนักเรียน และทำให้นักเรียนสามารถนำไปสู่กระบวนการธรรมชาติ ให้ได้และสามารถมีแนวคิดในการต่อยอดสู่การประยุกต์ หรือบริสุทธิ์ ตามที่ตนเองถนัดได้

ท่านพูดอย่างนี้นะครับ ผมก็ คิดตาม.......งงบ้างเล็กน้อย แต่คิดไปติดตามมาก็เป็นว่าสิ่งที่ท่านคิดนะเกิดในประเทศอื่นแล้ว เช่น อเมริกา จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เยอรมัน ........ทำให้ประเทศเจริญได้

ก็อดถามกลับท่านไม่ได้เหมือนกันว่า อาจารย์ว่าประเทศไหนที่ระบบการศึกษาดีที่สุด ท่านก็ตอบผมว่า อเมริกา เพราะอเมริกาสอนให้คนรู้จักใช้กับชีวิตได้ดี

สอนวิชาการให้คนที่อยากเรียนวิชาการ สอนเทคนิคให้กับคนที่จะทำงานด้านเทคนิค สอนในสิ่งที่ชอบให้กับคนที่อยากทำ .........

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าความคิดแบบนี้จะผิดถูกอย่างไร แต่สิ่งเหล่านี้เมื่อมาประสมกับแนวคิดของ ดร.เสรี ตามที่ผมได้เอ่ยข้างต้น ก็ทำให้เกิดความน่าสนใจขึ้นมา กับงานใหม่ ที่ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นมา


ก็ยังไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อเข้าไปร่วมงานแล้วจะมีปัญหา อุปสรรค ประการใดเหมือนกัน แล้วค่อยมาว่ากันในเรื่องราวต่อไปก็แล้วกัน

ไม่มีความคิดเห็น: